วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประโยค Present Simple Tense เชิงบอกเล่า
โครงสร้าง : Subject + Verb 1 (s )
( ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ( s ) )
( เมื่อประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 หลังคำกริยาจะต้องเติม s )
ตัวอย่าง :
1.I go to school by car. (ฉันไปโรงเรียนโดยรถยนต์)
2. He walks to school. ( เขาเดินไปโรงเรียน )
3. You play football every day. ( คุณเล่นฟุตบอลทุกวัน )
4. Somsri and Somsak study English every day .( สมศรีและสมศักดิ์เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน )

ประโยค Present Simple Tense เชิงปฏิเสธ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Present Simple Tense ให้มีความหมายเชิงปฏิเสธ ทำได้ด้วยการใช้ Verb to do มาช่วย มีหลักการใช้ดังนี้

do ใช้กับประธานพหูพจน์ และ I กับ you
does ใช้กับประธานเอกพจน์ ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้

โครงสร้าง : Subject + do / does + not + Verb 1
( ประธาน + do / does + not + กริยาช่องที่ 1 )

ตัวอย่าง :
1. I do not ( don’t ) go to school by car. ( ฉันไม่ไปโรงเรียนโดยรถยนต์ )
2. He does not ( doesn’t ) walk to school. ( เขาไม่เดินไปโรงเรียน )
3. You do not play football every day. ( คุณไม่เล่นฟุตบอลทุกวัน )
4. Somsri and Somsak do not study English every day .( สมศรีและสมศักดิ์ไม่เรียนภาษาอังกฤษทุกวัน )

*ข้อสังเกต : เมื่อนำ does มาช่วยในประโยคแล้ว ต้องตัด s ออกด้วย

ประโยค Present Simple Tense เชิงคำถามและการตอบ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Present Simple Tense ให้มีความหมายเชิงคำถาม ทำได้ด้วยการนำ do หรือ does มาวางไว้หน้าประโยค และตอบด้วย Yes หรือ No ซึ่งมีโครงสร้างของประโยคดังนี้

โครงสร้าง : Do / Does + Subject + Verb 1 ?
( Do / Does + ประธาน + กริยาช่องที่ 1 )

ตัวอย่าง :
1. Does he walk to school ? (เขาเดินไปโรงเรียนใช่หรือไม่ )
-Yes, he does. ( ใช่ เขาเดินไปโรงเรียน )
-No, he doesn’t. ( ไม่ใช่ เขาไม่ได้เดินไปโรงเรียน )
2. Do you play football every day ? ( คุณเล่นฟุตบอลทุกวันใช่หรือไม่ )
-Yes, I do. ( ใช่ ฉันเล่นฟุตบอลทุกวัน )
-No, I don’t. ( ไม่ใช่ ฉันไม่ได้เล่นฟุตบอลทุกวัน )

หลักการใช้ Present Simple Tense
1.ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไปหรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ เช่น

The sun rises in the east.( พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก )
Fire is hot. ( ไฟร้อน )

2. ใช้กับการกระทำที่กระทำอยู่จนเป็นนิสัย มักจะมีกลุ่มคำที่มีความหมายว่า เสมอๆ บ่อยๆ ทุกๆ อยู่ด้วย เช่น

I get up at six o’clock every day. ( ฉันตื่นนอนเวลา 6 นาฬิกาทุกวัน )
He plays football every day. ( เขาเล่นฟุตบอลทุกวัน )

หลักการเติม s ที่คำกริยา
1.กริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, o, หรือ x ให้เติม e ก่อนแล้วจึงเติม s เช่น

pass - passes = ผ่าน
brush - brushes = แปรงฟัน
catch - catches = จับ
go - goes = ไป
box - boxes = ชก

2.กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น ie แล้วจึงเติม s เช่น

cry - cries = ร้องไห้
fry - fries = ทอด
try - tries = พยายาม
*ข้อยกเว้น ถ้ากริยานั้นหน้า y เป็นสระ ให้เติม s ได้เลย เช่น
play - plays = เล่น
stay - stays = พัก

3. กริยาที่นอกเหนือจากที่กล่าวในข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เติม s ได้เลย

Tense

ความหมายของ Tense
Tense คือ รูปของคำกริยาที่บอกเวลาของการกระทำ ในภาษาอังกฤษการกระทำที่เกิดขึเวลาที่แตกต่างกันจะใช้รูปของคำกริยาที่แตกต่างกัน เช่น

1. I am playing football now. ( ฉันกำลังเล่นฟุตบอล )

2. I played football yesterday. ( ฉันเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้ )

*ในประโยคที่ 1 รูปของคำกริยาคือ am playing บอกให้รู้ว่าการเล่นฟุตบอลกำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูดประโยคนี้ออกมา
*ในประโยคที่ 2 รูปของคำกริยาคือ played บอกให้รู้ว่าการเล่นฟุตบอลเกิดขึ้นเมื่อวานนี้


ชนิดของ Tense
Tense แบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ

1. Present Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นปัจจุบัน
2. Past Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นอดีต
3. Future Tense ใช้กับการกระทำที่เป็นอนาคต
*แต่ละ Tense ใหญ่แบ่งออกเป็น 4 Tense ย่อย จึงมีทั้งหมด 12 Tense ดังนี้
Present Tense
- Present Simple Tense
- Present Progressive Tense
- Present Perfect Tense
- Present Perfect Progressive Tense
Past Tense
- Past Simple Tense
- Past Progressive Tense
- Past Perfect Tense
- Past Perfect Progressive Tense
Future Tense
- Future Simple Tense
- Future Progressive Tense
- Future Perfect Tense
- Future Perfect Progressive Tense

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

โปรแกรมการฝึกทักษะภาษา

โปรแกรม ELLIS



ELLIS เป็นโปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษทผู้เรียนี่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษมากที่สุดในทุกระดับภาษาจากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก การเรียนจะมีลักษณะเป็น interactive multimedia computerซึ่งจะทำให้คุณสามารถเลือกเวลาเรียนที่คุณสะดวกและเลือกระดับภาษาที่เหมาะสมกับตัวคุณได้ด้วยการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ โปรแกรม ELLIS นี้ได้รับการพัฒนาจากนักภาษาศาสตร์ีชื่อ Dr. Frank Otto โดยใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเป็นระยะเวลานาน จนพัฒนาซอฟแวร์นี้ให้มีความสามารถทัดเทียมกับการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง (English as a Second Language) กับอาจารย์ที่เป็นบุคคล การเรียนผ่าน Interactive Multimedia Computerนี้จะช่วยให้คุณสามารถโต้ตอบกับโปรแกรมได้ นอกจากนี้ยังสามารถเทียบกับเนื้อหาภาษาในโปรแกรมกับเนื้อหาภาษาอังกฤษที่ใช้สอบของสถาบันต่าง ๆ ได้ ้เช่น TOEIC TOEFL โดยเนื้อหาบทเรียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
  • Academic - สำหรับฝึกภาษาอังกฤษทั่วไป มีหลายระดับตามความสามารถของผู้เรียน โดยเริ่มตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
  • Business - สำหรับฝึกภาษาอังกฤษเพื่องานธุรกิจโดยเฉพาะ เช่น การรัีบโทรศัพท์ ศัพท์ที่ใช้ในวงการธุรกิจ เป็นต้น
**โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับนักศึกษา คนทำงาน หรือกำลังเตรียมตัวจะไปเรียนต่อหรือใช้ชีวิตในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถฝึกภาษาอังกฤษได้อย่างสะดวกสบายและได้ประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่จำกัด




ระดับของภาษาในโปรแกรม ELLIS Academic

1. Basic English สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ หรือผู้ที่ต้องการสร้างพื้นฐานของการออกเสียงภาษาอังกฤษให้แน่น โดยจะเน้นที่การฝึกออกเสียงตัวอักษรและการผสมเสียงตัวอักษรให้ถูกต้อง คำศัพท์และประโยคง่ายๆ สำหรับกิจวัตรประจำวัน

2. Intro สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างทักษะการติดต่อสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน โดยบทเรียนจะเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น การทักทายและสังสรรค์ การสมัครงาน การพบแพทย์ การเดินทาง เป็นต้น โดยในส่วนของไวยกรณ์ จะเน้นที่การสร้างประโยชน์ การใช้คำ article, prepositions, adjectives, adverbs, tense และคำเชื่อมในระดับเบื้องต้น นอกจากนี้จะสอนการเน้นเสียง และระดับของเสียงที่ควรออกสำหรับประโยครูปแบบต่างๆ

3. Middle Mastery จะช่วยให้ผู้ที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับหนึ่งสามารถใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศได้อย่างมั่นใจ โดยบทเรียนจะครอบคลุมถึงการใช้ vocabulary, adjectives และ adverbs ที่มีความหมายคล้ายกัน แต่มีระดับของการใช้ที่ต่างกัน การสร้างประโยคด้วยหลักการต่างๆ การแสดงความรู้สึก การสร้างบทสนทนายาวๆ และการใช้ภาษาที่มีบริบททางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การใช้สายตาประกอบคำพูด การให้คำชม วิธีปฏิเสธที่สุภาพ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยในอเมริกา และการนัดพบเพื่อนต่างเพศ เป็นต้น

4. Senior Mastery เป็นระดับสูงสุด ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารอยู่เป็นประจำ ผู้ที่เตรียมตัวสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ (เช่น TOEIC หรือ TOEFL) หรือผู้ที่เตรียมตัวไปเรียนต่อหรือทำงานในต่างประเทศ บทเรียนจะครอบคลุมถึงเนื้อหาที่ยากขึ้น เช่น การสัมภาษณ์งาน การสนทนาเชิงธุรกิจ การพูดคุยเกี่ยวกับวรรณกรรม การขอความช่วยเหลือในเรื่องที่ technical เป็นต้น ในส่วนของไวยกรณ์จะครอบคลุมถึงการใช้ clauses รูปแบบต่างๆ การใช้ infinitives, prefixes and suffixes, comparatives และการสร้างประโยคด้วย tense หลายประเภท เป็นต้น นอกจากนี้ จะเน้นการใช้ภาษาอังกฤษที่ต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรมมากขึ้น เช่น การเขียน resume การอธิบายถึงนิสัย ประเด็นที่ควรหลีกเลี่ยงในบทสนทนา การใช้ภาษาที่สื่อเจตนาที่แท้จริงของผู้พูด การใช้ภาษาที่แสดงความมั่นใจ เป็นต้น

5. Placement เป็นข้อสอบเพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดยแบ่งเป็น Vocabulary, Grammar, Listening ผู้สอบจะรู้ว่าตนเองอ่อนหรือเก่งในส่วนใด ต้องปรับปรุงหรือเรียนอะไรเป็นพิเศษบ้าง หลังจากทำครบแล้ว ผู้เรียนจะถูกโปรแกรมแยกว่า ระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษโดยรวมของผู้สอบต้องไปเรียนในระดับใด (Basic, Intro, Middle Mastery, Senior Mastery)



6. Master Pronunciation เป็นระดับพิเศษ ใช้สำหรับฝึกออกเสียงโดยเฉพาะ เนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองส่วน ใหญ่ๆ คือ Instruction และ Practice
Instruction ประกอบไปด้วยการสอนในเรื่องการออกเสียง (sounds) สระและพยัญชนะภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามมาตรฐานของ American English รวมทั้ง การออกเสียงใน ระดับที่เกินกว่าหน่วยเสียง (Beyond Sounds) เช่น การแบ่งพยางค์
Practice ประกอบด้วย sound contrasts ซึ่งหมายถึงการหัดออกเสียงที่แตกต่างกัน และ Tongue Twisters ซึ่งเป็น การหัดออกเสียงคำ ที่มีลักษณะการออกเสียงคล้ายคลึงกันมากกว่าสองเสียงขึ้นไป นอกจากนี้ในส่วนของการฝึกที่นอกเหนือจากระดับคำหรือ Useful Phrases นั้น ก็จะประกอบไปด้วยการหัดออกเสียงสำนวนพื้นฐานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น การปฏิสัมพันธ์กันในวงสังคมการถามเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับภาษา และ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นต้น




การเข้าใช้บริการโปรแกรม ELLIS ในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองของศูนย์ภาษา
  • แจ้งชื่อ-สกุล รหัสนักศึกษา รุ่น/กลุ่ม ของตนให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ภาษาทราบเมื่อใช้โปรแกรมครั้งแรก

url:http:/dit.dru.ac.th/





วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เริ่มต้นใช้Blog

1.Blog คืออะไร
บล็อก (blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นวิธีสื่อสารมวลชนที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดในยุคปัจจุบัน บล็อกเป็นที่นิยมเพราะมันทำให้เราสามารถอ่านงานเขียนของคนอื่นได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการแก้ไขจาก editors ผู้บริหาร หรือใครก็ตาม การสร้างบล็อกก็ง่ายมากๆ ง่ายกว่าการสร้างเว็บไซต์ ง่ายดายเสียจนดูเหมือนว่า สิ่งที่ยากดูจะมีเพียงสิ่งเดียว คือ ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไปในบล็อกดี บล็อกเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ปฏิรูปเว็บ จากเว็บธรรมดาให้กลายเป็นเว็บที่มีปฏิสัมพันธ์ (interactive) มากขึ้น เปลี่ยนชุมชนคนเล่นเว็บ จากสังคมที่มีคนเขียนกลุ่มเล็กๆกับผู้อ่านจำนวนมาก (passive) ให้กลายมาเป็นชุมชนที่มีสมาชิกเป็นทั้งคนสร้าง content ด้วยการเขียน และเป็นนักอ่านไปพร้อมกัน (active) นอกจากนี้ มันยังช่วยลับคมความคิด แลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นเครื่องมืออันมหัศจรรย์สำหรับนักการศึกษา ที่จะนำมาใช้ในการศึกษาของสังคมด้วย
2.ประโยชน์ของ Blog
1.เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
3.ตัวอย่างของ Blog<รูปภาพ>









4.จงเขียนชื่อผู้ให้บริการ Blog ในประเทศไทย
1.
Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างเดียว
2.
เอ็กซ์ทีน
3.
GotoKnow
4.learners.in.th
5.
บล็อกแก๊ง
6.
โอเคเนชั่น
5.จงเขียนชื่อผู้ให้บริการ Blog ในต่างประเทศ
• บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
• ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)
• วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
• มายสเปซ
• ไฮ 5
• เฟซบุ้ก
• เวิร์ดเพรสส์
• มัลติไพล
6.Blog มีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้
7.จากการเรียนการสอนในวันนี้สิ่งที่นักศึกษาได้คือ
7.1.E-Mail Address ของนักศึกษาคือ

wei.pa@hotmail.com
chutipong200@gmail.com
7.2.Web Blog ของนักศึกษาคือ
www.pohbank.blogspot.com
8.ให้นักศึกษาอธิบายวิธีการสร้าง Blog มาอย่างละเอียด
1.เข้าweb http://www.blogger.com/
2.สร้างblogของคุณทันที
3.กรอกข้อมูล
-E-Mail
-Password
-รหัสยืนยัน
-ข้าพเจ้ายอมรับ
ดำเนินการต่อ
5.ตั้งชื่อWeb Blog
ดำเนินการต่อ
6.เลือกแม่แบบ
ดำเนินการต่อ