วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เริ่มต้นใช้Blog

1.Blog คืออะไร
บล็อก (blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นวิธีสื่อสารมวลชนที่เจริญเติบโตรวดเร็วที่สุดในยุคปัจจุบัน บล็อกเป็นที่นิยมเพราะมันทำให้เราสามารถอ่านงานเขียนของคนอื่นได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการแก้ไขจาก editors ผู้บริหาร หรือใครก็ตาม การสร้างบล็อกก็ง่ายมากๆ ง่ายกว่าการสร้างเว็บไซต์ ง่ายดายเสียจนดูเหมือนว่า สิ่งที่ยากดูจะมีเพียงสิ่งเดียว คือ ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไปในบล็อกดี บล็อกเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ปฏิรูปเว็บ จากเว็บธรรมดาให้กลายเป็นเว็บที่มีปฏิสัมพันธ์ (interactive) มากขึ้น เปลี่ยนชุมชนคนเล่นเว็บ จากสังคมที่มีคนเขียนกลุ่มเล็กๆกับผู้อ่านจำนวนมาก (passive) ให้กลายมาเป็นชุมชนที่มีสมาชิกเป็นทั้งคนสร้าง content ด้วยการเขียน และเป็นนักอ่านไปพร้อมกัน (active) นอกจากนี้ มันยังช่วยลับคมความคิด แลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นเครื่องมืออันมหัศจรรย์สำหรับนักการศึกษา ที่จะนำมาใช้ในการศึกษาของสังคมด้วย
2.ประโยชน์ของ Blog
1.เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คน สาธารณะได้รับรู้
2.เป็นเครื่องมือช่วยในด้ารธุรกิจ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร การเสนอตัวอย่างสินค้า การขายสินค้า และการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น
3.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้มีความรู้เฉพาะด้านๆ นั้น เนื่องจากผู้เขียน Blog มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน Blog ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
4.ทำให้ทันต่อเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
3.ตัวอย่างของ Blog<รูปภาพ>









4.จงเขียนชื่อผู้ให้บริการ Blog ในประเทศไทย
1.
Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างเดียว
2.
เอ็กซ์ทีน
3.
GotoKnow
4.learners.in.th
5.
บล็อกแก๊ง
6.
โอเคเนชั่น
5.จงเขียนชื่อผู้ให้บริการ Blog ในต่างประเทศ
• บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
• ยาฮู! 360° หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)
• วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
• มายสเปซ
• ไฮ 5
• เฟซบุ้ก
• เวิร์ดเพรสส์
• มัลติไพล
6.Blog มีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้
7.จากการเรียนการสอนในวันนี้สิ่งที่นักศึกษาได้คือ
7.1.E-Mail Address ของนักศึกษาคือ

wei.pa@hotmail.com
chutipong200@gmail.com
7.2.Web Blog ของนักศึกษาคือ
www.pohbank.blogspot.com
8.ให้นักศึกษาอธิบายวิธีการสร้าง Blog มาอย่างละเอียด
1.เข้าweb http://www.blogger.com/
2.สร้างblogของคุณทันที
3.กรอกข้อมูล
-E-Mail
-Password
-รหัสยืนยัน
-ข้าพเจ้ายอมรับ
ดำเนินการต่อ
5.ตั้งชื่อWeb Blog
ดำเนินการต่อ
6.เลือกแม่แบบ
ดำเนินการต่อ

ไม่มีความคิดเห็น: